ตัวอย่างการทดสอบสกัดน้ำมันงา

รูปที่ 2 แสดงลักษณะกากงาที่ได้จากการบีบงา 1 รอบการผลิต

รูปที่ 1 แสดงน้ำมันงาและกากงาที่ได้จากการบีบงาใน 1 รอบการผลิต

จากผลการทดสอบสกัดน้ำมันโดย 1 รอบการบีบอัดจะใช้ปริมาณเมล็ดงา 130 กรัม บีบอัดด้วยรอบการทำงาน 11 จังหวะ จะใช้เวลาประมาณ 5 นาที 40 วินาที และได้น้ำมันงาประมาณ 49 ลบ . ซม . คิดเป็นร้อยละ 37.69 โดยน้ำหนัก ( ดังรูปที่ 1 ) ได้กากงา 81 กรัม ดังรูปที่ 2 โดยสิ้นเปลืองกำลังไฟฟ้า 0.63 watt หรือคิดเป็นพลังงานไฟฟ้า 0.06 kWh และคิดเป็นเงินค่าไฟฟ้า 0.18 บาท ( โดยประมาณค่าที่ค่าไฟฟ้าราคา 3 บาทต่อ kWh) หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้า 0.0037 บาทต่อลบ . ซม . หรือ ประมาณ 3.7 บาทต่อลิตร

             

จากการทดสอบสกัดน้ำมันสบู่ดำโดย 1 รอบการบีบอัดจะใช้ปริมาณเมล็ดสบู่ดำ 170 กรัม โดยบีบอัดด้วยรอบการทำงาน 11 จังหวะ จะใช้เวลาประมาณ 6 นาที ได้น้ำมันสบู่ดำประมาณ 43 ลบ . ซม . และกากสบู่ดำประมาณ 127 กรัม ( ดังรูปที่ 3 ) คิดเป็นร้อยละ 25.29 โดยน้ำหนัก โดยสิ้นเปลืองกำลังไฟฟ้า 0.63 watt หรือคิดเป็นพลังงานไฟฟ้า 0.063 kWh คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าเพียง 0.189 บาท ( โดยประมาณค่าที่ค่าไฟฟ้าราคา 3 บาทต่อ kWh) หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้า 0.0044 บาทต่อลบ . ซม . หรือ 4.4 บาทต่อลิตร

ตัวอย่างการทดสอบสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ

ตัวอย่างการทดสอบสกัดน้ำมันจากมะพร้าว

จากผลการทดสอบสกัดน้ำมันมะพร้าวโดย 1 รอบการบีบอัดจะใช้ปริมาณเนื้อมะพร้าวขูดตากแห้งจำนวน 95 กรัม โดยบีบอัดด้วยรอบการทำงาน 11 จังหวะ จะใช้เวลาประมาณ 6 นาที ได้น้ำมันมะพร้าวประมาณ 47 ลบ . ซม . และกากมะพร้าวประมาณ 45 กรัม ( ดังรูปที่ 4 ) คิดเป็นร้อยละ 51.09 โดยน้ำหนัก โดยสิ้นเปลืองกำลังไฟฟ้า 0.63 watt หรือคิดเป็นพลังงานไฟฟ้า 0.063 kWh คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าเพียง 0.189 บาท ( โดยประมาณค่าที่ค่าไฟฟ้าราคา 3 บาทต่อ kWh) หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้า 0.0044 บาทต่อลบ . ซม . หรือ 4.4 บาทต่อลิตร

รูปที่ 4 แสดงลักษณะกากมะพร้าวและน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการบีบใน 1 รอบการผลิต
รูปที่ 3 แสดงลักษณะกากสบู่ดำและน้ำมันสบู่ดำที่ได้จากการบีบเมล็ดสบู่ดำใน 1 รอบการผลิต