รูปที่ 2 กล้วยหลังตากในเรือนอบ 3 วัน
รูปที่ 1 กล้วยก่อนตากแห้ง
นำกล้วยสุกที่ปลอกเปลือกแล้วมาตากในเรือนอบ (รูปที่ 1) พบว่า ภายหลังจากตากได้ 3 วัน กล้วยมีลักษณะแห้ง ดังรูปที่ 2 และพบว่าอุณหภูมิของอากาศภายในสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศภายนอก โดยเฉพาะในช่วงที่กลางวัน บางช่วงสูงกว่าถึง 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของกล้วยก็สูงกว่าอุณหภูมิ ของอากาศภายนอกประมาณ 10 องศาเซลเซียส ดังรูปที่ 3 และด้วยเหตุที่อุณหภูมิภายในเรือนอบจะสูงกว่าภายนอก จึงสามารถทำให้ลดความชื้นของผลผลิตภายในเรือนอบได้เร็วกว่าการตากลาน
การตากกล้วยในเรือนอบสามารถลดเวลาการตากกล้วยลงได้ 2 วัน และกล้วยที่ได้จะสะอาดกว่า กล้วยที่ตากลาน จากรูปที่ 4 เป็นภาพหลังอบกล้วยในเรือนอบ 3 วัน ( รูปที่ 5 ) เป็นภาพหลังอบกล้วยนอก เรือนอบ 5 วัน จากการทดลองเมื่อสังเกตจากสีจะเห็นว่ามีสีเหลืองคล้ายกันทั้งอบในเรือนอบและนอกเรือนอบ และจากการชิมพบว่าการอบภายในเรือนอบ 3 วัน จะมีรสหวานมากกว่าตากนอก เรือนอบ 5 วัน เล็กน้อย
ตัวอย่างการตากเมล็ดงา
นำเมล็ดงาดำมาตาก ดังรูปที่ 6 โดยวัดอุณหภูมิตามตำแหน่งต่างๆ ดังรูปที่ 7 ได้ผลการศึกษา ดังรูปที่ 8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิของอากาศภายในสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศภายนอก โดยเฉพาะในช่วงที่กลางวัน การตากงาในแต่ละชั้นมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ชั้นที่ 1 อุณหภูมิสูงกว่าชั้นที่ 2 และ 3 อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของชั้นที่ 2 และ 3 ก็ยังสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศภายนอก ซึ่งก็สามารถลดความชื้นของเมล็ดงาได้เช่นกัน แต่อาจจะลดความชื้นได้ช้ากว่าชั้นที่ 1 เพราะมีเงาจากชั้นที่ 1 มาบดบังแสงอาทิตย์ทำให้ไม่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง แต่ด้วยอากาศภายในทั่วเรือนอบที่ร้อนอยู่ก็สามารถลดความชื้นของเมล็ดงาในชั้นที่ 2 และ 3 นั้นก็ยังเร็วกว่าการตากลาน และเมื่อมองถึงประโยชน์ในการประหยัดพื้นที่ในการตากโดยทำเป็นชั้นๆ ก็สามารถประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า และการดูแลรักษาก็ทำได้ง่ายด้วย