น้ำมันงาดิบ ( virgin sesame oil ) เป็นน้ำมันธรรมชาติบริสุทธิ์ที่ได้จากการบีบอัดเมล็ดงาดิบ โดยกระบวนการบีบอัดเอาน้ำมันออกเป็นแบบอัดเย็น การบีบแบบอัดเย็นจะทำงานได้ช้า เครื่องมือมีราคาแพง แต่จะได้น้ำมันงาที่มีวิตามินอีอยู่ปริมาณมาก (หากการบีบอัดน้ำมันแล้วเกิดความร้อนในห้องอัดเกิน 45 องศาเซลเซยส วิตามินอีจะถูกทำลาย) การนำน้ำมันงามาใช้ประโยชน์มีมานานตั้งแต่อดีต โดยนำน้ำมันงามาใช้ในการรักษากระดูกหักได้เป็นอย่างดี และในปัจจุบันได้นำน้ำมันงามาใช้ในตำรับยาของการแพทย์ทางเลือก รวมทั้งการผลิตน้ำมันงา capsule โดยมุ่งบริโภควิตามินอีธรรมชาติจากน้ำมันงา สำหรับสรรพคุณของวิตามินอีมีคุณสมบัติเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ( anti-oxidant) ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterial) ต้านเชื้อรา (anti-fungal) ต้านไวรัส (anti-viral) ชะลออาการแก่ของเซลล์ (anti-aging) ต้านอาการลุกลามของผื่นและแผล (anti-inflammatory) ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น (moisturizing) และทำให้ผิวหนังนวลเนียน โดยคุณสมบัตินี้สามารถรักษาอาการป่วยต่าง ๆ ได้อย่างมากมายตั้งแต่ ไข้หวัด ภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดอุดตัน ระบบสืบพันธุ์ และแม้กระทั่งการชะลอความแก่ และการปรับสภาพผิวหนัง
การใช้น้ำมันงา มี2แบบคือใช้รับประทานและทา ในกรณีที่ใช้น้ำมันงาเพื่อรับประทานเป็นอาหารร่างกายจะได้รับวิตามินอีและกรดไขมันจำเป็นอันได้แก่ กรดไขมัน linoleic และ oleic กรดไขมันนี้ร่างกายสามารถนำไปสร้างฮอร์โมนที่มีผลต่อการขยายหลอดเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันเกล็ดเลือดเกาะตัวเป็นลิ่ม ยับยั้งการสร้าง colesteral ในร่างกาย การรับประทานควรราดลงไปในอาหารหลังปรุง ก่อนนำไปรับประทาน หรือที่เรียกว่า dressing oil วิตามินอีในน้ำมันงานี้จะช่วยให้เซลล์ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์ได้ดี ร่างกายได้รับสารอาหารสมบูรณ์ เสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้ผนังเซลล์ยืดหยุ่นสามารถขับของเสียออกจากเซลล์เข้าสู่ระบบขับถ่ายได้ดี รวมทั้งต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย ส่วนการใช้น้ำมันงาทาหรือนวด เพื่อรักษาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก บำรุงผิวพรรณทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น นุ่มนวล สลายคราบ ลบรอยย่น ต้านรังสี UV และสามารถบำรุงรากผม ทำให้ผมดกดำ ควรชโลมน้ำมันงาในบริเวณที่ปวด/บริเวณที่ต้องการบำรุงรักษา และนวดเบาๆ เพื่อให้น้ำมันงาสามารถซึมผ่านไปได้เร็ว นอกจากนี้ในน้ำมันงายังมีสารที่เรียกว่า sesamal sesamin และ sesamolin ซึ่งสารนี้จะช่วยเสริมคุณสมบัติของวิตามินอีในการป้องกันร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
นอกจากนี้การบริโภคเมล็ดงาจะทำให้ได้สารอาหารที่มีปริมาณไขมันประมาณ 45-57 % ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว มีปริมาณโปรตีนอยู่ไม่น้อยกว่า 20 % และ ในเมล็ดงายังอุดมไปด้วยวิตามินบีทุกชนิด (ยกเว้นวิตามินบี 12) ซึ่งจะช่วยบำรุงสมอง ประสาท และป้องกันโรคเหน็บชา ส่วนเกลือแร่จะมีประมาณ 4-6 % ที่สำคัญคือ ธาตุเหล็ก ไอโอดีน สังกะสี แคลเซียม และฟอสฟอรัส โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัสมีมากกว่าผักชนิดอื่น ๆ ถึง 40 และ 20 เท่าตามลำดับ และมีแคลเซียมมากกว่านมถึง 3 เท่า ซึ่งจะเห็นว่าสารอาหารเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง ที่อาจจะช่วยบรรเทาโรคบางชนิดได้เช่น โรคเหน็บชา โรคปวดตามข้อกระดูก เป็นต้น
หมายเหตุ : อัตราที่แนะนำให้บริโภคคือ ผู้ใหญ่ ชาย / หญิง ควรบริโภค น้ำมันงาบริสุทธิ์ 2 ช้อน หรือประมาณ 10 กรัม (ได้วิตามินอีประมาณ 8-10 มก.) เด็ก ควรบริโภคประมาณ 2/3 -1 ช้อน