เครื่องบดเมล็ดพืช

ความสำคัญของเครื่องบดเมล็ดพืช พืชที่นิยมนำมาบดเป็นพืชที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น พืชตระกูลถั่ว เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และงา เป็นต้น การบดพืชน้ำมันเหล่านี้ผลที่ได้จะเป็นเนย เช่น เนยถั่ว เนยเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เนยงา ซึ่งใช้บริโภค หรือบางครั้งผลการบดอาจเป็นครีม เช่นครีมงา ( ในกรณีที่บดงาที่ยังไม่ผ่านการคั่ว) ซึ่งใช้เป็นเครื่องประทินผิวได้ การแปรรูปพืชน้ำมันโดยการบดก็เพื่อสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของขนมประเภทต่างๆ หรือนำไปรับประทานโดยตรงเช่น เนยถั่ว การบดพืชที่มีน้ำมันนี้ทำได้ยาก ต้องอาศัยเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก ซึ่งเครื่องที่นำเข้าเป็นชนิดที่ทำจากหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการบริโภคหากมีเศษหินเหล่านั้นเจือปนลงไป เครื่องบดเมล็ดพืชที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ราคาถูกกว่าเครื่องจากต่างประเทศ และทำจากสแตนเลสซึ่งแก้ปัญหาสิ่งเจือปนที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งใช้งานง่าย บำรุงรักษาง่าย

รู้จักกับเครื่องบดเมล็ดพืช เครื่องบดเมล็ดพืชประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆ 7 ส่วนดังรูปที่ 1 ได้แก่ ฝาครอบ ล้อบด ใบกวาดที่ขอบล้อ ใบกวาดภายในอ่าง อ่างใส่ผลิตภัณฑ์ เกียร์ส่งกำลัง และมอเตอร์ต้นกำลัง ส่วนกลางของอ่างใส่ผลิตภัณฑ์จะทำเป็นผิวนูนเรียบ เพื่อให้เมล็ดพืชที่ต้องการบดไปรวมกันที่กลางอ่าง เมล็ดพืชที่ต้องการบดจะถูกบังคับให้อยู่บนทางที่ล้อบดทั้งสองวิ่งผ่าน ซึ่งเป็นแนบเส้นรอบวงของขอบอ่างใส่ผลิตภัณฑ์นั่นเอง ใบปาดที่ขอบล้อออกแบบให้มีช่องห่างระหว่างล้อบดกับใบปาดให้แคบมากลงเพื่อใช้ปาดครีมหรือเนยที่ได้ออกจากขอบล้อให้ได้มากที่สุด ป้องกันการติดของครีมหรือเนยที่ล้อบดได้ดีมาก ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการบดดีมาก และใบกวาดภายในอ่างจะเอียงไปตามผิวนูนที่อยู่กลางอ่าง เพื่อกวาดเมล็ด ครีมหรือเนยที่อาจติดที่กลางอ่างให้ไปรวมกันที่ช่องทางเดินของล้อบดได้เป็นอย่างดี รูปที่ 2-5 แสดงลักษณะของเครื่องบดในมุมมองต่างๆ

การทำงานของเครื่องบดเมล็ดพืช เครื่องบดเมล็ดพืชนี้ใช้มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า แบบ single phase ความเร็วรอบ 1,440 รอบต่อนาที ทำหน้าที่ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังชุดเกียร์ ดังรูปที่ 1.6 ชุดเกียร์ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางการหมุนจากระนาบแนวตั้งให้อยู่ในระนาบแนวนอน และลดความเร็วรอบ จนแกนที่ใช้ยึดล้อบดทั้งสองข้างหมุนด้วยความเร็วรอบประมาณ 120 รอบต่อนาที ขณะเครื่องทำงานล้อบดจะหมุนรอบตัวเองไปด้วย ทำให้เกิดแรงบดกดลงภายในอ่างอย่างต่อเนื่อง สามารถบดเมล็ดพืชได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ในขณะทำการบดเมล็ดพืชฝาครอบจะถูกวางลงบนอ่างผลิตเพื่อกันไม่ให้เมล็ดพืช ครีมหรือน้ำมัน กระเด็นออกนอกเครื่อง ใบปาดที่ขอบล้อทั้งสองชุดทำหน้าที่ไม่ให้ครีมหรือเนยติดที่ขอบล้อ และยังลดกระเซ็นของครีมหรือเนยไปติดกับขอบด้านในของฝาครอบ (เหมือนกับรถที่ต้องมีบังโคลน) ทำให้เมล็ดพืช ครีมหรือเนยถูกปาดตกลงในอ่างใส่ผลิตภัณฑ์และไหลลงไปถูกล้อบด บดได้อย่างต่อเนื่อง ใบกวาดภายในอ่างจะทำหน้าที่พลิก และกวาดเมล็ดพืชภายในอ่างให้หล่นลงไปยังขอบอ่างซึ่งเป็นทางวิ่งของล้อบด ทำให้เมล็ดพืชภายในอ่างทุกเมล็ดถูกบดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

Top
Top
Top
การใช้งาน ของเครื่องบดเมล็ดพืช เริ่มด้วยเสี๊ยบปลั๊กกับไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ ( ไฟบ้าน) ใส่เมล็ดพืชลงในอ่างใส่ผลิตภัณฑ์ แล้วเปิดสวิทซ์ ปล่อยให้เครื่องทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ครีมหรือเนยตามต้องการ โดยมีปริมาณของเมล็ดพืชบางชนิดที่แนะนำไว้สำหรับเครื่องนี้ดังตารางที่ 1.1

การบำรุงรักษาเครื่อง บดเมล็ดพืช การบำรุงรักษาเครื่องทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ตรวจสอบความตึงของสายพาน ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และหมั่นทำความสะอาดอ่างใส่ผลิตภัณฑ์ ล้อบด ใบกวาดที่ขอบล้อและใบกวาดภายในอ่าง ทุกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานในแต่ละวัน

ข้อควรระวัง การบดเมล็ดพืชที่รสชาติแตกต่างกันมาก อาจทำให้รสชาติของเมล็ดพืชที่บดทีหลังเสียไป เช่น บดพริกเสร็จ แล้วบดงาต่อ เนยงาที่ได้อาจรับประทานไม่ได้ หากการทำความสะอาดไม่ดีพอ หากบดเมล็ดพืชที่มีรสจัดๆ ควรทำความสะอาดให้ดี ข้อแนะนำควรทำสะอาดให้ดี แล้วควรใส่น้ำสะอาดลงในอ่างบดแล้ว แช่ทิ้งไว้ 1 วัน ทำสะอาดให้ดีอีกครั้งก่อนบดเมล็ดพืชชนิดอื่นต่อ

Top
Top

เอกสารอ้างอิง

  1. พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล เอกไชย บุปผเวส ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ และอริยาภรณ์ พงษ์รัตน์. 2549. รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการวิจัย “ การวิจัยและพัฒนาเครื่องบดงา ” . ISBN 974-523-085-5. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี , อุบลราชธานี . จำนวน 45 หน้า
  2. อริยาภรณ์ พงษ์รัตน์ และพิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล . 2549. “ การวิจัยและพัฒนาเครื่องบดงา ”. วิศวกรรมสาร มข . ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม 2549. หน้า 403-414
รูปที่ 1
รูปที่ 2
รูปที่ 3
รูปที่ 4
รูปที่ 5
ตัวอย่างการใช้เครื่องบดเมล็ดพืชบดเมล็กงา,เมล็ดถัวลิสงและเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

ลำดับ

ชนิดพืช

ปริมาณที่ใส่ / ครั้ง

ระยะเวลาในการบด / ครั้ง

ค่าไฟฟ้าที่ใช้ * บาท / กิโลกรัม

1

เมล็ดงา

5 กก.

35 นาที

0.295

2

เมล็ดถั่วลิสง

5 กก.

15 นาที

0.12

3

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์

5 กก.

10 นาที

0.0726

ตารางที่ 1.1 แนะนำระยะเวลาและปริมาณการบดของเมล็ดพืชบางชนิด

หมายเหตุ : ค่าไฟฟ้าที่ใช้ * คิดที่ 3 บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง